Knowledge Management ในความคิดของข้าพเจ้าเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอเช่นส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์แห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์
รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกา
ข้อมูลสนับสนุนความคิดข้างต้นคือ
ในสังคมแห่งความรู้ (Knowledge society) “ความรู้” ถือว่าเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญที่มีคุณค่าสำหรับการสร้างความมั่งคงและความอยู่รอดขององค์กร ข้อมูลที่ถูกสมองของมนุษย์แปลงไปเป็นความรู้ก็จะถูกบูรณาการไปเป็นภูมิปัญญา และกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญของโลก
ข้อมูลสนับสนุนความคิดข้างต้นคือ
ในสังคมแห่งความรู้ (Knowledge society) “ความรู้” ถือว่าเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สำคัญที่มีคุณค่าสำหรับการสร้างความมั่งคงและความอยู่รอดขององค์กร ข้อมูลที่ถูกสมองของมนุษย์แปลงไปเป็นความรู้ก็จะถูกบูรณาการไปเป็นภูมิปัญญา และกลายเป็นทรัพยากรที่สำคัญของโลก
ดังพระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงดำรัสว่า
“ความรู้และความดี
เมื่อเผยออกไปยิ่งทวีคูณไม่ได้หมดไปจากตัวยิ่งทำดียิ่งทำให้คนอื่นมีความรู้
ความรู้ของเราก็ไม่หมดลงไป ยิ่งเพิ่มขึ้นมาก” ความรู้กลายเป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการดำเนินกิจกรรมต่างๆขององค์กรและเป็นสิ่งจำเป็นต่อการเพิ่มความสามารถในการปรับปรุงหรือพัฒนาบุคลากรอันนำไปสู่การบริการที่คุณภาพรวมถึงการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นล้วนต้องอาศัยความรู้
ดังนั้นความรู้จึงมีความสำคัญสำหรับผู้ที่ปฏิบัติงานที่ต้องใช้ความรู้
จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องนำกลยุทธ์ด้านการบริหารจัดการความรู้มาใช้ในการพัฒนาบุคลากรในองค์กรให้เกิดการเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา
ดังพระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถึงความสำคัญของการจัดการความรู้ไว้ว่า
“ความรู้ที่จะศึกษามีสามส่วน คือ ความรู้วิชาการ
ความรู้ปฏิบัติการ และความคิดอ่านตามเหตุผลที่เป็นจริง
ซึ่งแต่ละคนควรเรียนรู้และนำไปใช้ประกอบการงาน
การแก้ไขปัญหาทั้งปวงอย่างมีประสิทธิภาพ”
ดังนั้นแนวคิดและหลักการบริหารจัดการความรู้ที่มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
การสร้างฐานความรู้ และการสร้างองค์ความรู้ใหม่ๆ เป็นเป้าหมายสำคัญของการเรียนรู้
เพื่อนำความรู้ไปปฏิบัติและช่วยในการตัดสินใจ
การพัฒนาด้วยความรับผิดชอบต่ออนาคตขององค์กรดัง
พระบรมราโชวาทของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสถึงแนวคิดในการ
การบริหารจัดการความรู้ว่า“ ทรงนำหลักการทางวิทยาศาสตร์มาใช้ทรงเริ่มจากการรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นจากปัญหาข้อเท็จจริง
ทรงวิเคราะห์เป็นแนวคิด
ทฤษฎีโดยไม่ทรงยึดติดกับตำราเพราะทรงเห็นว่านอกจากจะต้องใช้เวลามากแล้ว
ตำราตายตัวก็ไม่แน่นอน ที่สำคัญและเป็นวิธีการที่ไม่มีใครทำเลยก็คือทรงนำความรู้ที่มีอยู่ในตัวบุคคลหรือในท้องถิ่นมาผสมผสานกับการค้นคว้าทอดลองและสังเคราะห์ความรู้อย่างเป็นระบบ
และถ่ายทอดความรู้นั้นออกไป”
การจัดการความรู้ (Knowledge Management) รู้จึงเป็นกลยุทธ์ที่มีบทบาทและความสำคัญๆยิ่งในการสร้างความเข้มแข็งทางปัญญาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง
อันเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาคน
พัฒนางานและพัฒนาองค์กรเพื่อนำไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน
แหล่งที่มา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น