ขอให้ตอบคำถามต่อไปนี้
1. ท่านคิดว่า Blog ในอนาคตสำหรับการจัดการความรู้ ควรจะมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างเป็นรูปกราฟฟิก
2. ท่านคิดว่า “การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ความรู้ ใน KM มีความแตกต่างกันอย่างไร”
3. ท่านคิดว่า “นอกจาก เทคโนโลยี RSS
ที่มาช่วยการสนับสนุนการจัดการความรู้แล้ว
ในอนาคตควรจะมีอะไรเทคโนโลยีอะไรบ้างเพื่อทำให้การจัดการความรู้มี
ประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น”
4. ท่านคิดว่า “การจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วย KM สิ่งใดที่จะทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการดังกล่าว”
ตอบ
1.) ขยาย
พื้นที่สำหรับการนำเสนอเนื้อหา ความรู้ของ Blogger
ให้สามารถนำเสนอแบบสองมิติ หรือสามมิติ แสดงคล้ายกับการจัดนิทรรศการ
แต่เป็นในรูปแบบการฉาย Blogger กลางอากาศ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่แบบไหน
ก็สามารถนำเสนอองค์ความรู้นั้นๆได้
2.) การ
จัดการองค์ความรู้นั้นต้องผ่านกระบวนการประมวลผลความรู้
เพื่อให้ได้องค์ความรู้นั้นๆออกมา
ซึ่งการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ความรู้เป็นหนึ่งในกระบวนการประมวลผล
และทั้งสองมีความแตกต่างกันคือการวิเคราะห์เป็นการแยกแยะความรู้ออกเป็น
ส่วนๆ เพื่อทำความเข้าใจในความรู้นั้นๆ
ส่วนการสังเคราะห์เป็นการพัฒนาความรู้เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆออกมา
ซึ่งบางความรู้อาจจะผ่านกระบวนการวิเคราะห์แยกแยะมาก่อน
หรืออาจะไม่ผ่านก็ได้
3.) นำ
เทคโนโลยี Social Network
มาใช้พัฒนาองค์ความรู้โดยการแปลองค์ความรู้จากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง
ให้เป็นภาษาของประเทศนั้นๆ กระทำผ่านสังคมออนไลน์ ซึ่ง *เทคโนโลยี
Social Network หมายถึง กลุ่มสังคมเครือข่าย
ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสารของกลุ่มคนที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่
กล่าวคือ เป็นสังคมบนโลกอินเทอร์เน็ตที่มีบุคคลจำนวนมากเข้ามาติดต่อสื่อสารกัน
โดยมีเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางในการสื่อสารบุคคลเหล่านี้จะใช้เว็บไซต์เพื่อแสดงหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นที่อยู่ห่างไกลกัน
สังคมรูปแบบนี้ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว
เนื่องจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นการติดต่อสื่อสารแบบไร้ขอบเขต ด้วยรูปแบบการติดต่อสื่อสารนี่ส่งผลให้ลักษณะการใช้งานเว็บไซต์
4.) ปัญหา
และอุปสรรค ทีสำคัญคือ การที่คนภายในองค์กรมี อคติต่อต้าน
ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มีจิตใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น
อาจส่งผลเสียให้องค์กรเกิดความเสียหาย ทั้งภายในและภายนอกองค์กร
*ที่มา:https://sites.google.com/site/beauvysite/khwam-ru-keiyw-kab-web-thekhnoloyi/social-network
วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
งานส่งภายในวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
เพื่อไม่ให้เสียโอกาสทางศึกษาและเกิดการคิดทำให้เกิดความรู้ ดังนั้น จึงให้ทุกท่านอ่านบทความต่อไปนี้ http://msrivirat.blogspot.com/2014/02/knowledge-management.html?m=1
แล้ววิจารณ์โดยให้เสนอประเด็นใดเพิ่มเติมก็ได้ ๓ ประเด็น โดยตอบใน blog ของท่านเช่นเคย ครับ ส่งภายในวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
ประเด็น แรกคือในการทำ KM (Knowledge Management) นั้นต้องเริ่มจากการรับสาร(ข้อมูล) เช่นจากการรับรู้ข้อมูล ทั้งการดู การฟัง การอ่าน แล้วค่อยนำมาประมวลผล คิด วิเคราะห์ออกมาเป็น KM ทำให้เกิดความรู้ขึ้นมา
ประเด็นที่สองคือ การที่จะทำให้ "การจัดการความรู้" สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาด้านการศึกษาในทุกระดับได้อย่างแท้จริง นั้น ต้องมีการจัดองค์ความรู้ทุกระดับการศึกษา ให้มีความชัดเจนถูกต้อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ศึกษาองค์ความรู้ นั้นๆ ในทุกระดับการศึกษา เป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาบุคคล และสังคมให้มีความเข้มแข็ง
ประเด็น ที่สามคือ เชื่อในการที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเกิดจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง อาจจะใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง ความถูกต้องขององค์ความรู้นั้นๆ เราต้องเรียนรู้ที่จะเป็นนักคิด และ คิดที่จะเรียนรู้
ที่กล่าวมาทั้งสามประเด็นนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของความดี มีคุณธรรม จริยธรรม อย่าใช้ความรู้ในทางที่ผิด จงใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม
แล้ววิจารณ์โดยให้เสนอประเด็นใดเพิ่มเติมก็ได้ ๓ ประเด็น โดยตอบใน blog ของท่านเช่นเคย ครับ ส่งภายในวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗
ประเด็น แรกคือในการทำ KM (Knowledge Management) นั้นต้องเริ่มจากการรับสาร(ข้อมูล) เช่นจากการรับรู้ข้อมูล ทั้งการดู การฟัง การอ่าน แล้วค่อยนำมาประมวลผล คิด วิเคราะห์ออกมาเป็น KM ทำให้เกิดความรู้ขึ้นมา
ประเด็นที่สองคือ การที่จะทำให้ "การจัดการความรู้" สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาด้านการศึกษาในทุกระดับได้อย่างแท้จริง นั้น ต้องมีการจัดองค์ความรู้ทุกระดับการศึกษา ให้มีความชัดเจนถูกต้อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ศึกษาองค์ความรู้ นั้นๆ ในทุกระดับการศึกษา เป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาบุคคล และสังคมให้มีความเข้มแข็ง
ประเด็น ที่สามคือ เชื่อในการที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเกิดจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง อาจจะใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง ความถูกต้องขององค์ความรู้นั้นๆ เราต้องเรียนรู้ที่จะเป็นนักคิด และ คิดที่จะเรียนรู้
ที่กล่าวมาทั้งสามประเด็นนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของความดี มีคุณธรรม จริยธรรม อย่าใช้ความรู้ในทางที่ผิด จงใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม
วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
งานวันที่ 24/01/2557
นอกเหนือจาก ปัญหา 6 ข้อดังต่อไปนี้ ท่านคิดอย่างไร
1. การถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคลกับองค์กร เช่นปัญหาการไม่แบ่งปันความรู้
บริษัทหนึ่งมีการส่งพนักงานไปสัมมนา หรือฝึกอบรม หลังจากที่กลับมาแล้ว
ก็เก็บความรู้เอาไว้คนเดียว หรืออาจจะรายงานให้หัวหน้าทราบเพียงเท่านั้นแต่พนักงานคนอื่นอีกหลายคนในองค์กรที่ไม่ได้ไปจะไม่รับรู้เลยว่าคนที่ไปฝึกอบรม
หรือไปสัมมนามานั้น ได้อะไรกลับมา เพราะไม่มีการเก็บบันทึกรายงานหรือสิ่งที่น่าสนใจที่ได้จากการอบรมหรือสัมมนาในครั้งนั้น
ๆ ไว้ในฐานข้อมูล อินเทอร์เน็ต หรือเว็บไซต์
หากองค์กรไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องเช่นนี้
ก็จะให้การลงทุนไปกับการส่งพนักงานไปฝึกอบรม หรือเข้าร่วมสัมมนา อาจจะเป็นการ
ลงทุนที่สูญเปล่า
2. การจัดเก็บความรู้ขององค์กร จัดเก็บไว้หลากหลายแหล่ง หลายรูปแบบ มีทั้งที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ และไม่เป็นอิเล็กทรอนิกส์กระจัดกระจายในยามที่ต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแบบด่วน
จะทำไม่ได้เพราะต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลนาน ทำให้เสียผลประโยชน์ต่อองค์กร
3. การไม่นำความรู้ขององค์กรมาสร้างความสามารถในการแข่งขัน หรือก่อให้เกิดประโยชน์อย่าง แท้จริง ในองค์กรมีความรู้มากมาย
ที่ได้จากการวิจัยหรือประสบการณ์จากการทำงาน
แต่วิจัยแล้วก็จบไปไม่นำไปประยุกต์เพื่อทำให้เกิดผลทางธุรกิจต่อไป
หรืองบโครงการหมดก็จบโครงการไปไม่มีการสานต่อหรือองค์กรมีผู้รู้
ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถออกไปสอนองค์กรอื่นให้ประสบความสำเร็จ มีความรู้ แต่ในขณะเดียวกัน
ท่านเหล่านั้นกลับยุ่ง และไม่มีเวลาเหลือพอที่จะพัฒนาคนในองค์กรเดียวกันเลย
ก็กลายเป็นความสูญเปล่าที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น
4. การสร้างความรู้ใหม่
สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีการสะสมความรู้ที่มีอยู่เดิมอย่างเป็นระบบ
เมื่อไม่เกิดความรู้ใหม่ อีกทั้งความรู้เดิมไม่ได้เก็บไว้ด้วยแล้วองค์กรก็จะไม่เหลืออะไร
และจะตายลงในที่สุด
5. การไม่นำความรู้ภายนอกมาปรับใช้ อาจจะทำให้ตามสถานการณ์โลก และคู่แข่งไม่ทัน
6. ความรู้ในองค์กร ความรู้ภายนอกองค์กร ไม่เชื่อมโยงกับงาน และขาดบริบทในการปฏิบัติงาน
5. การไม่นำความรู้ภายนอกมาปรับใช้ อาจจะทำให้ตามสถานการณ์โลก และคู่แข่งไม่ทัน
6. ความรู้ในองค์กร ความรู้ภายนอกองค์กร ไม่เชื่อมโยงกับงาน และขาดบริบทในการปฏิบัติงาน
ตอบ
1.ต้องเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
ยกตัวอย่างเช่น
ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์แห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ
2.ต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ
เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง
รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์
3.ต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับ
เปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการ
เรียนรู้ร่วมกัน
เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหาร
ราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกา
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)