วันศุกร์ที่ 7 มีนาคม พ.ศ. 2557

งานประจำสัปดาห์ วันที่ ๒๑ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗


๑. ให้นักศึกษาหาหน่วยงานหรือองค์กรที่นำ KM ไปประโยชน์ใช้ในการจัดการบริหารองค์กรให้เกิดประสิทธิภาพ พร้อมทั้งวิจารณ์ว่าดีในประเด็นใดบ้าง และนำ IT ไปใช้อย่างไรบ้าง
   
     สำนักงานสรรพสามิตภาคที่8 พัฒนาโดยฝ่ายพัฒนาระบบงาน ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำเว็บเกี่ยวกับ KM Knowledge Management ( http://km8.excise.go.th/kmpak82/ )

เพื่อเป็นสารสนเทศของหน่วยงานและใช้เป็นเครื่องมือในการปฏิบัติงานในด้านต่าง ๆ ในกิจการของสำนักงาน ทำให้การทำงานเป็นระบบและเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
     ประเด็นการใช้ IT ในการจัดการความรู้ภายในองค์กรโดยจัดทำเว็บดังกล่าวขึ้น 
     ประเด็นการพัฒนา เว็บ โดย ฝ่ายพัฒนาระบบงาน ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศ
     ประเด็น แนวคิดดีของสำนักงาน คือ เว็บลิงค์ทางเราจะพยายามรวบรวมเว็บที่มีประโยชน์ เพื่อให้ทุกท่านได้ค้นหาข้อมูลต่าง ๆ จากแหล่งข้อมูลนี้



๒. จากรูปภาพในหน้าที่ผ่านมา นักศึกษาคิดว่าน่าจะมีตัว S อีกกี่ตัวอะไรบ้างที่เกี่ยวข้องกับ KM 
Solve => ตีความ/อธิบาย นำไปใช้ในเรื่องการอธิบายหรือตีความ บทความต่างๆ แล้วนำความรู้ที่เราได้ตีความออกมาอธิบายเป็นความรู้ในแบบฉบับของตน เพื่อเข้าใจในบทความนั้นๆง่ายยิ่งขึ้น

Study => ศึกษา/ค้นคว้า นำไปใช้ในเรื่องของการสืบค้นข้อมูล การค้นคว้าความรู้ใหม่ๆอยู่เสมอ ศึกษาวิธีการจัดการองค์ความรู้แบบต่างๆแล้วนำมาปรับใช้กับการจัดการความรู้ในแบบของตน

Storage => ตัวเก็บข้อมูล นำไปใช้ในเรื่องของการจัดเก็บข้อมูล หลังจากที่เราได้ทำการสืบค้น ศึกษาค้นคว้าหาความรู้ นำความรู้ที่ได้มาจัดเก็บในตัวเก็บข้อมูล เช่น แฟลตไดร์ฟ เอ็กเทอนอลเมมโมรี่ เป็นต้น
Sheave => รวบรวม นำไปใช้ในเรื่องของการรวบรวม ไม่ว่าจะเป็นการรวบรวมประวัติ รวบรวมผลงาน รวบรวมความรู้ รวบรวมเอกสารต่างๆเป็นการจัดการองค์ความรู้ให้เป็นหมวดหมู่อย่างเป็นระบบมากยิ่งขึ้น รวบรวมในเรื่องขององค์ความรู้ต่างๆ ที่เราเคยทำนำมาอยู่ที่เดียวกัน เว็บเดียวอาจมีหลายลิงค์องค์ความรู้
 

วันพุธที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งานในวันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ และ วันศุกร์ที่ 14 เป็นวันหยุดราชการ (มาฆบูชา)

ขอให้ตอบคำถามต่อไปนี้
1. ท่านคิดว่า Blog ในอนาคตสำหรับการจัดการความรู้ ควรจะมีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มเติมอย่างไร พร้อมยกตัวอย่างเป็นรูปกราฟฟิก
2. ท่านคิดว่า “การวิเคราะห์และการสังเคราะห์ความรู้ ใน KM มีความแตกต่างกันอย่างไร”
3. ท่านคิดว่า “นอกจาก เทคโนโลยี RSS ที่มาช่วยการสนับสนุนการจัดการความรู้แล้ว ในอนาคตควรจะมีอะไรเทคโนโลยีอะไรบ้างเพื่อทำให้การจัดการความรู้มี ประสิทธิภาพเพิ่มมากยิ่งขึ้น”
4. ท่านคิดว่า “การจัดการองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้วย KM สิ่งใดที่จะทำให้เป็นปัญหาและอุปสรรคในการจัดการดังกล่าว”

ตอบ 
1.) ขยาย พื้นที่สำหรับการนำเสนอเนื้อหา ความรู้ของ Blogger ให้สามารถนำเสนอแบบสองมิติ หรือสามมิติ แสดงคล้ายกับการจัดนิทรรศการ แต่เป็นในรูปแบบการฉาย Blogger กลางอากาศ ไม่ว่าจะอยู่ในสถานที่แบบไหน ก็สามารถนำเสนอองค์ความรู้นั้นๆได้



2.) การ จัดการองค์ความรู้นั้นต้องผ่านกระบวนการประมวลผลความรู้ เพื่อให้ได้องค์ความรู้นั้นๆออกมา ซึ่งการวิเคราะห์และการสังเคราะห์ความรู้เป็นหนึ่งในกระบวนการประมวลผล และทั้งสองมีความแตกต่างกันคือการวิเคราะห์เป็นการแยกแยะความรู้ออกเป็น ส่วนๆ เพื่อทำความเข้าใจในความรู้นั้นๆ ส่วนการสังเคราะห์เป็นการพัฒนาความรู้เพื่อให้ได้องค์ความรู้ใหม่ๆออกมา ซึ่งบางความรู้อาจจะผ่านกระบวนการวิเคราะห์แยกแยะมาก่อน หรืออาจะไม่ผ่านก็ได้
3.) นำ เทคโนโลยี Social Network มาใช้พัฒนาองค์ความรู้โดยการแปลองค์ความรู้จากภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่ง ให้เป็นภาษาของประเทศนั้นๆ กระทำผ่านสังคมออนไลน์ ซึ่ง *เทคโนโลยี Social Network หมายถึง กลุ่มสังคมเครือข่าย ซึ่งเป็นการติดต่อสื่อสารของกลุ่มคนที่เชื่อมโยงกันเป็นเครือข่ายขนาดใหญ่ กล่าวคือ เป็นสังคมบนโลกอินเทอร์เน็ตที่มีบุคคลจำนวนมากเข้ามาติดต่อสื่อสารกัน โดยมีเว็บไซต์เป็นศูนย์กลางในการสื่อสารบุคคลเหล่านี้จะใช้เว็บไซต์เพื่อแสดงหรือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับบุคคลอื่นที่อยู่ห่างไกลกัน สังคมรูปแบบนี้ขยายตัวได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากการใช้งานอินเทอร์เน็ตเป็นการติดต่อสื่อสารแบบไร้ขอบเขต ด้วยรูปแบบการติดต่อสื่อสารนี่ส่งผลให้ลักษณะการใช้งานเว็บไซต์
4.) ปัญหา และอุปสรรค ทีสำคัญคือ การที่คนภายในองค์กรมี อคติต่อต้าน ไม่ให้ความร่วมมือ ไม่มีจิตใจที่จะทำงานร่วมกับผู้อื่น อาจส่งผลเสียให้องค์กรเกิดความเสียหาย ทั้งภายในและภายนอกองค์กร

*ที่มา:https://sites.google.com/site/beauvysite/khwam-ru-keiyw-kab-web-thekhnoloyi/social-network

วันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งานส่งภายในวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

เพื่อไม่ให้เสียโอกาสทางศึกษาและเกิดการคิดทำให้เกิดความรู้ ดังนั้น จึงให้ทุกท่านอ่านบทความต่อไปนี้ http://msrivirat.blogspot.com/2014/02/knowledge-management.html?m=1

แล้ววิจารณ์โดยให้เสนอประเด็นใดเพิ่มเติมก็ได้ ๓ ประเด็น โดยตอบใน blog ของท่านเช่นเคย ครับ ส่งภายในวันพฤหัสบดีที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๗

ประเด็น แรกคือในการทำ KM (Knowledge Management) นั้นต้องเริ่มจากการรับสาร(ข้อมูล) เช่นจากการรับรู้ข้อมูล ทั้งการดู การฟัง การอ่าน แล้วค่อยนำมาประมวลผล คิด วิเคราะห์ออกมาเป็น KM ทำให้เกิดความรู้ขึ้นมา

ประเด็นที่สองคือ การที่จะทำให้ "การจัดการความรู้" สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการพัฒนาด้านการศึกษาในทุกระดับได้อย่างแท้จริง นั้น ต้องมีการจัดองค์ความรู้ทุกระดับการศึกษา ให้มีความชัดเจนถูกต้อง และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปปฏิบัติให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ศึกษาองค์ความรู้ นั้นๆ ในทุกระดับการศึกษา เป็นพลังขับเคลื่อนให้เกิดการพัฒนาบุคคล และสังคมให้มีความเข้มแข็ง 

ประเด็น ที่สามคือ เชื่อในการที่ได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ทุกสิ่งทุกอย่างต้องเกิดจากการศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง อาจจะใช้เวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ข้อเท็จจริง ความถูกต้องขององค์ความรู้นั้นๆ เราต้องเรียนรู้ที่จะเป็นนักคิด และ คิดที่จะเรียนรู้  

ที่กล่าวมาทั้งสามประเด็นนี้ต้องอยู่บนพื้นฐานของความดี มีคุณธรรม จริยธรรม อย่าใช้ความรู้ในทางที่ผิด จงใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และ สังคม 

วันอาทิตย์ที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

งานวันที่ 24/01/2557

นอกเหนือจาก ปัญหา 6 ข้อดังต่อไปนี้ ท่านคิดอย่างไร


1. การถ่ายทอดความรู้ระหว่างบุคคลกับองค์กร เช่นปัญหาการไม่แบ่งปันความรู้ บริษัทหนึ่งมีการส่งพนักงานไปสัมมนา หรือฝึกอบรม หลังจากที่กลับมาแล้ว ก็เก็บความรู้เอาไว้คนเดียว หรืออาจจะรายงานให้หัวหน้าทราบเพียงเท่านั้นแต่พนักงานคนอื่นอีกหลายคนในองค์กรที่ไม่ได้ไปจะไม่รับรู้เลยว่าคนที่ไปฝึกอบรม หรือไปสัมมนามานั้น ได้อะไรกลับมา เพราะไม่มีการเก็บบันทึกรายงานหรือสิ่งที่น่าสนใจที่ได้จากการอบรมหรือสัมมนาในครั้งนั้น ๆ ไว้ในฐานข้อมูล อินเทอร์เน็ต หรือเว็บไซต์ หากองค์กรไม่มีนโยบายที่ชัดเจนในเรื่องเช่นนี้ ก็จะให้การลงทุนไปกับการส่งพนักงานไปฝึกอบรม หรือเข้าร่วมสัมมนา อาจจะเป็นการ ลงทุนที่สูญเปล่า
2. การจัดเก็บความรู้ขององค์กร จัดเก็บไว้หลากหลายแหล่ง หลายรูปแบบ มีทั้งที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ และไม่เป็นอิเล็กทรอนิกส์กระจัดกระจายในยามที่ต้องการข้อมูลเพื่อการตัดสินใจแบบด่วน จะทำไม่ได้เพราะต้องใช้เวลารวบรวมข้อมูลนาน ทำให้เสียผลประโยชน์ต่อองค์กร
3. การไม่นำความรู้ขององค์กรมาสร้างความสามารถในการแข่งขัน หรือก่อให้เกิดประโยชน์อย่าง แท้จริง ในองค์กรมีความรู้มากมาย ที่ได้จากการวิจัยหรือประสบการณ์จากการทำงาน แต่วิจัยแล้วก็จบไปไม่นำไปประยุกต์เพื่อทำให้เกิดผลทางธุรกิจต่อไป หรืองบโครงการหมดก็จบโครงการไปไม่มีการสานต่อหรือองค์กรมีผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญที่สามารถออกไปสอนองค์กรอื่นให้ประสบความสำเร็จ มีความรู้ แต่ในขณะเดียวกัน ท่านเหล่านั้นกลับยุ่ง และไม่มีเวลาเหลือพอที่จะพัฒนาคนในองค์กรเดียวกันเลย ก็กลายเป็นความสูญเปล่าที่ไม่น่าจะเกิดขึ้น
4. การสร้างความรู้ใหม่ สิ่งนี้จะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีการสะสมความรู้ที่มีอยู่เดิมอย่างเป็นระบบ เมื่อไม่เกิดความรู้ใหม่ อีกทั้งความรู้เดิมไม่ได้เก็บไว้ด้วยแล้วองค์กรก็จะไม่เหลืออะไร และจะตายลงในที่สุด
5. การไม่นำความรู้ภายนอกมาปรับใช้
 อาจจะทำให้ตามสถานการณ์โลก และคู่แข่งไม่ทัน
6. ความรู้ในองค์กร
 ความรู้ภายนอกองค์กร ไม่เชื่อมโยงกับงาน และขาดบริบทในการปฏิบัติงาน 

ตอบ
 1.ต้องเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์แห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ 
 2.ต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ 
 3.ต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับ เปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการ เรียนรู้ร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหาร ราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกา

วันพฤหัสบดีที่ 19 ธันวาคม พ.ศ. 2556

เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ KM ท่านคิดว่าจะเป็นอย่างไรบ้าง



Blogger เป็นเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับ KM(Knowledge Management)
หลักการสำคัญในการพัฒนาระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการความรู้ให้มีประสิทธิภาพ ว่าประกอบด้วย
  1. คำนึงถึงเจ้าของและผู้ใช้ระบบ โดยให้ผู้ใช้ระบบเข้ามามีส่วนร่วมตั้งแต่ขั้นแรกของการพัฒนาระบบ จะทำให้ผู้ใช้มีความคุ้นเคยและเป็นส่วนหนึ่งของทีมงานพัฒนาระบบ ซึ่งความรู้สึกดังกล่าวจะช่วยลดแรงต่อต้านระบบลงได้
  2. เข้าถึงปัญหาให้ตรงจุด โดยการศึกษาและทำความเข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น ค้นหาสาเหตุ จัดลำดับความสำคัญและผลกระทบที่เกิดจากปัญหา รวบรวมและกำหนดความต้องการที่จะแก้ไขปัญหา หาวิธีแก้ไขปัญหาหลายๆ วิธี และเลือกวิธีที่ดีที่สุด ออกแบบและทำการแก้ปัญหาตามวิธีที่เลือก สังเกตและประเมินผลกระทบจากวิธีแก้ปัญหาที่นำมาใช้ และปรับปรุงวิธีการให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  3. กำหนดขั้นตอนหรือกิจกรรมในการพัฒนาระบบ ซึ่งต้องกระทำอย่างชัดเจนเพราะจะช่วยลดความยุ่งยากในการพัฒนาระบบได้
  4. กำหนดมาตรฐานในการพัฒนาระบบ เพื่อให้มีระเบียบในการปฏิบัติ และช่วยให้การบำรุงรักษาระบบเป็นไปด้วยความสะดวกและคล่องตัว
  5. ตระหนักว่าการพัฒนาระบบเป็นการลงทุนประเภทหนึ่ง ฉะนั้นจึงควรมีความรอบคอบในการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ และเลือกวิธีในการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด โดยพิจารณาถึงข้อดีและข้อจำกัดของแต่ละวิธี รวมถึงผลประโยชน์หรือความคุ้มค่าในการลงทุน
  6. เตรียมความพร้อมหากจะต้องยกเลิก หรือทบทวนระบบสารสนเทศที่กำลังพัฒนา เพราะอาจมีการประเมินผลตอบแทนจากการลงทุนใหม่แล้วไม่คุ้มค่า หรือจำเป็นต้องลดขอบเขตการทำงานลง เมื่อมีข้อจำกัดด้านงบประมาณ
  7. แบ่งระบบสารสนเทศสำหรับการจัดการความรู้ที่จะต้องพัฒนาออกเป็นระบบย่อย (Subsystems) จะช่วยให้ทีมงานสามารถแก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้เร็วขึ้น การตรวจสอบข้อผิดพลาดสามารถทำได้อย่างสะดวก ทำให้กระบวนการแก้ปัญหามีประสิทธิภาพมากขึ้น
  8. ออกแบบระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้ ให้สามารถรองรับต่อการขยายหรือการปรับเปลี่ยนในอนาคต เนื่องจากสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว องค์กรอาจจำเป็นต้องปรับขยายระบบสารสนเทศเพื่อรองรับต่อการเปลี่ยนแปลง และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขัน ดังนั้นทีมงานพัฒนาระบบจะต้องออกแบบระบบ เพื่อให้สามารถรองรับการเติบโตและเปลี่ยนแปลงในอนาคตด้วย
    ที่มา :http://www.agri.kmitl.ac.th/km/knowledge/?p=21

วันเสาร์ที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

การจัดการความรู้ในมุมมองของข้าพเจ้า

 Knowledge Management ในมุมมองของข้าพเจ้าเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ยกตัวอย่างเช่น ส่วนราชการมีหน้าที่พัฒนาความรู้ในส่วนราชการเพื่อให้มีลักษณะเป็นองค์แห่งการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ โดยต้องรับรู้ข้อมูลข่าวสารและสามารถประมวลผลความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติราชการได้อย่างถูกต้อง รวดเร็วและเหมาะสมกับสถานการณ์ รวมทั้งต้องส่งเสริมและพัฒนาความรู้ความสามารถสร้างวิสัยทัศน์และปรับเปลี่ยนทัศนคติของข้าราชการในสังกัดให้เป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพและมีการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติราชการของส่วนราชการให้สอดคล้องกับการบริหารราชการให้เกิดผลสัมฤทธิ์ตามพระราชกฤษฎีกา

วันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

เรื่อง "สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ กับ การจัดการความรู้"



สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ กับ การจัดการองค์ความรู้ ในมุมมองของข้าพเจ้าความยาวอย่างน้อย ๓๐๐๐ คำ

ข้าพเจ้าขอเสนอบทเพลง พระเทพฯ ทรงบุญ











 
และอีกหนึ่งบทเพลงพระเทพฯของชาวไทย


 

ในความคิดของข้าพเจ้า  สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯทรงสนพระราชหฤทัยในการศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับดินน้ำด้วยเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์ชั้นสูง ทรงพระอุตสาหะติดตามความเจริญก้าวหน้าทางด้านเกษตรกรรม ทรงสนพระราชหฤทัยในด้าน การปกครอง เศรษฐกิจ สังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านอักษรศาสตร์ และ ศิลปวัฒนธรรม ดังปรากฏในพระราชนิพนธ์ จำนวนมาก และที่มหาชนชาวไทยได้ชื่นชมใน พระราชอัจฉริยะ เมื่อยามทรงบรรเลงดนตรีไทย ณ สาธารณสถานอยู่บ่อยครั้ง ทรงเป็นผู้ที่สุขุม รอบคอบ ดังเช่นการจดบันทึก ของพระองค์ และการถ่ายภาพเมื่อยามที่พระองค์ เสด็จพระราชดำเนินไปยังสถานที่ต่างๆ
การเสด็จพระราชดำเนิน ทุกครั้งต้องทรงเตรียมพระองค์อย่างรอบคอบถี่ ถ้วน ทรงศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานที่ และบุคคลสำคัญที่จะต้องทรงไปพบปะ  ทรงเตรียมสุนทรพจน์ ทรงเตรียมของขวัญที่จะพระราชทานตอบแทน ทรงเป็นต้นแบบที่มหาชนชาวไทยชื่นชมยินดี จงรักภักดีและสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์



ความในพระราชดำรัส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยายในหัวข้อ แนวโน้มการจัดการเรียนการสอนเพื่อการเรียนรู้ในทศวรรษหน้าในการสัมมนาวิชาการ เรื่อง เทคโนโลยีเพื่อการเรียนรู้ในทศวรรษหน้า”  ณ โรงแรม บีพี สมิหลา จังหวัดสงขลา  วันที่  ๒๓ กันยายน  ๒๕๔๒

แนวโน้มความรู้ในทศวรรษหน้าจะมีหลายอย่าง    ดังนี้ 

ประการแรก   ความรู้สากล    คือความรู้ที่จะสามารถเปรียบเทียบกันได้ทั้งโลก

ประการที่  ๒   ความรู้ที่เป็นมาตรฐานระดับประเทศ    ที่เราจะกำหนดว่าคนไทยควรต้องรู้อะไร
ประการที่  ๓   ความรู้ท้องถิ่น  ทำให้เรารู้ความเป็นมาและศักยภาพของท้องถิ่น
ที่สำคัญคือ จะต้องสามารถโยงความรู้ทั้ง ๓ ระดับนี้ให้เข้ากันได้


ความในพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงบรรยาย เรื่อง การศึกษากับการพัฒนาประเทศ  วันสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ ณ หอประชุม ม.ศรีนครินทรวิโรฒ ประสานมิตร วันที่ ๒๗  พฤศจิกายน  ๒๕๓๘
เรื่องการใช้คอมพิวเตอร์  ปัจจุบันเทคโนโลยีสารสนเทศหรือ  lnformation Technology หรือ IT ก้าวหน้าไปมาก คอมพิวเตอร์กลายเป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งในการใช้ประมวลข้อมูลในทุกๆ  ด้าน ทุกสาขาวิชา   ชีวิตของผู้คนต้องเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากขึ้น    คงจะหายากที่ว่า  ทำอะไรแล้วไม่ใช้คอมพิวเตอร์     การเรียนรู้เกี่ยวกับการใช้คอมพิวเตอร์จึงมีประโยชน์     ผู้ที่สามารถใช้คอมพิวเตอร์ได้ หรือมีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์    ไม่ว่าจะเป็นสาขาวิชาชีพใด    จะได้เปรียบกว่าคนอื่น   หางานทำได้ง่ายขึ้น
สมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ทูลกระหม่อมปู่ของข้าพเจ้าสำเร็จการศึกษาจากคณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเมื่อประมาณ ๑๐๐ ปีก่อน ทรงกล่าวไว้ว่า ความสำเร็จไม่ได้เกิดจากการเรียนในห้องเรียน แต่เกิดจากการนำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติ เมื่อเวลา ๓๒ ปีมาแล้วที่ข้าพเจ้าดำเนินงานตามรอยพระยุคลบาทของทูลกระหม่อมปู่และทูลกระหม่อมพ่อ ช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสทั้งในประเทศและประเทศเพื่อนบ้าน ข้าพเจ้าทราบตระหนักว่า การศึกษาระดับสูงมีความสำคัญต่อการพัฒนาคน เห็นได้จากเด็กหลายๆ คนจากถิ่นทุรกันดารที่มีโอกาสได้ศึกษาระดับมหาวิทยาลัย ต่างประสบความสำเร็จในอาชีพและกลับไปเป็นผู้นำในชุมชนของตนพระราชดำรัสในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เมื่อวันที่ ๑๒ พฤษภาคม ๒๕๕๕ สหรัฐอเมริกา


ทรงเน้นย้ำว่า “การพัฒนาคือกระบวนการที่นำไป สู่ความเจริญก้าวหน้า หรือการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การพัฒนาขึ้นอยู่กับปัจจัยด้าน วัฒนธรรม ภูมิศาสตร์ ศาสนา เชื้อชาติ สภาพเศรษฐกิจ และสังคม การพัฒนาเป็นเรื่องที่ต้องใช้ ความรู้และเทคโนโลยีขั้นสูง เทคโนโลยีที่เหมาะสม และเทคโนโลยีพื้นบ้าน เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การพัฒนาที่ประสบความสำเร็จ มักจะเป็นกรณีที่นักพัฒนามีความมุ่งมั่นเอาใจใส่ รับผิดชอบ และเคารพในความเป็นมนุษย์ของผู้อื่น กล่าวคือ การพัฒนาเกี่ยวข้องกับมนุษยธรรมและจิตใจอย่างมาก”

 


สำหรับพระองค์แล้ว การพัฒนาความสามารถของคน คือกุญแจไขไปสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ทรงแสดงทรรศนะเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อย่างลุ่มลึกว่า “การพัฒนาจะยั่งยืนมิได้ หากประชาชนในพื้นที่ไม่มีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่อง ความยั่งยืนเกิดจากการที่นักพัฒนาถ่ายทอดความรู้ อุดมการณ์ และความตั้งใจ สู่รุ่นต่อๆไป ที่สำคัญคือ ต้องสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในหมู่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในรุ่นลูกหลาน เพื่อให้เขาเข้าใจในสิ่งที่เกิดขึ้นรอบตัว ความยังยืนจะขึ้นอยู่กับการพัฒนาศักยภาพของประชาชน เพื่อให้เขาสามารถพัฒนาต่อไปได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งพาคนภายนอกตลอดเวลา”


ข้าพเจ้าชอบคติพจน์ของมหาวิทยาลัยหลิ่งหนาน การศึกษาเพื่อจิตอาสา การศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่งการอุดมศึกษา มีความหมายมากกว่าการฝึกอาชีพ หลักสูตรและกิจกรรมนอกหลักสูตรที่ดีจะสามารถเปลี่ยนแปลงนักศึกษาให้เป็นคนดีและเป็นผู้นำที่มีศิลปะในการช่วยเหลือผู้อื่นด้วยทัศนคติจิตอาสา เขาจะเป็นผู้ให้แก่สังคมได้มากขึ้นในอนาคต ข้าพเจ้าเองใช้การศึกษาพัฒนาถิ่นทุรกันดารมากว่า ๓๐ ปี ข้าพเจ้าจึงเข้าใจดีว่า การจัดการศึกษาอย่างมีคุณภาพจะเป็นเครื่องมือทรงพลังที่จะนำไปสู่ความสำเร็จ เลยจะต้องใช้ความพยายามอย่างสูง เราจะต้องร่วมมือกันหาแนวทางที่มีประสิทธิผลยิ่งขึ้นในการจัดการศึกษาแก่คนรุ่นใหม่ ไม่เพียงแต่เพื่อสนองความต้องการของแต่ละบุคคลเท่านั้น แต่เพื่อให้เป็นสมาชิกที่ดีมีความเอื้ออาทรต่อผู้อื่นในชุมชนท้องถิ่นและชุมชนโลกพระราชดำรัสสมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ในพิธีทรงรับการทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาอักษรศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยหลิ่งหนาน ๑๙ เมษายน ๒๕๕๕




ด้านการพัฒนาห้องสมุดและการรู้หนังสือ
สมเด็จพระเทพรัตน์ราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงสนพระราชหฤทัยการอ่านและการพัฒนาห้องสมุด ทรงรับสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯไว้ในพระราชูปถัมภ์ เมื่อวันที่2 กันยายน พ.ศ. 2519 [41] หลายโอกาสที่เสด็จพระราชดำเนินต่างประเทศ ได้เสด็จเยี่ยมและทรงดูงานห้องสมุดชั้นนำหลายแห่ง ซึ่งได้พระราชทานข้อแนะนำแก่สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ และบรรณารักษ์ไทยในการนำความรู้ไปพัฒนาห้องสมุดโรงเรียนและห้องสมุดประชาชนรวมทั้งห้องสมุดประชาชนเฉลิมราชกุมารี ที่เป็นแหล่งเรียนรู้เพื่อขยายโอกาสให้ประชนในการพัฒนาการรู้หนังสือ นอกจากนี้ยังทรงพระกรุณาเสด็จพระราชดำเนินเป็นองค์ประธานในการประชุมสามัญประจำปีของสมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯเสมอมา รวมทั้งได้เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นประธานในโอกาสที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพการประชุมสมาพันธ์สมาคมห้องสมุดฯนานาชาติ (IFLA) และมีพระราชดำรัสเปิดการประชุม IFLA ครั้งที่ 65 ที่กรุงเทพมหานครในปี 1999
ด้านการพัฒนาสังคม
พระองค์ทรงสนพระราชหฤทัยงานด้านการพัฒนา ซึ่งถือเป็นงานหลักที่พระองค์ทรงงานควบคู่กับงานวิชาการ พระองค์ทรงเรียนรู้งานทางด้านพัฒนาจากการตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถไปทรงเยี่ยมประชาชนในถิ่นทุรกันดารต่าง ๆ ทั่วประเทศ  จากการที่พระองค์ทรงได้เสด็จฯ ไปตามสถานที่ต่าง ๆ มากมาย พระองค์ทรงนำความรู้ที่ได้จากการลงพื้นที่จริงมาใช้ในงานด้านการพัฒนาสังคม นำไปสู่โครงการตามพระราชดำริส่วนพระองค์มากมาย โดยโครงการตามพระราชดำริในระยะเริ่มแรกนั้น พระองค์ทรงงานเกี่ยวกับเด็กนักเรียนในพื้นที่ทุรกันดารที่มีปัญหาขาดสารอาหาร ดังนั้น จึงทรงพระราชดำริส่งเสริมให้นักเรียนปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ แล้วนำมาประกอบเป็นอาหารกลางวันรับประทาน  โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวันนี้ เริ่มต้นขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2523 โดยเริ่มที่โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนในจังหวัดราชบุรี กาญจนบุรี และประจวบคีรีขันธ์ และได้ขยายออกไปยัง 44 จังหวัดในพื้นที่ทุรกันดาร โครงการในพระราชดำริในระยะต่อมา พระองค์ทรงมุ่งเน้นทางด้านการศึกษามากขึ้น เนื่องจากพระองค์ทรงพระราชดำริว่า การศึกษาเป็นปัจจัยหลักในการสร้างและพัฒนาความรู้ ความคิด ตลอดจนความประพฤติและคุณงามความดีของบุคคล โดยพระองค์ทรงตั้งพระราชหฤทัยให้ประชาชนทุกระดับชั้นสามารถได้รับการศึกษาอย่างเท่าเทียมกัน ซึ่งถือเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานที่ประชาชนควรได้รับจากรัฐ
ด้านการอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมไทย
พระองค์ทรงสนพระทัยด้านศิลปวัฒนธรรมมาตั้งแต่ยังทรงพระเยาว์ โดยเฉพาะทางด้านดนตรีไทย ซึ่งพระองค์ทรงสนับสนุนในการอนุรักษ์ สืบทอด เผยแพร่ความรู้ด้านดนตรีไทยอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด โดยทรงเป็นแบบอย่างในการเสด็จทรงเครื่องดนตรีไทยร่วมกับประชาชนทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังทรงอนุรักษ์ดนตรีไทยโดยการชำระโน้ตเพลง บันทึกเพลงเก่า และเผยแพร่งานเหล่านั้นอย่างต่อเนื่อง และส่งเสริมให้สถาบันการศึกษาต่าง ๆ จัดการเผยแพร่งานทางด้านดนตรีไทย ซึ่งจากงานทางด้านการอนุรักษณ์ดนตรีไทย ครูเสรี หวังในธรรม ได้กล่าวไว้ว่า ดนตรีไทยไม่สิ้นแล้ว เพราะพระทูลกระหม่อมแก้วเอาใจใส่
นอกจากด้านดนตรีไทยแล้ว พระองค์ยังประกอบพระราชกรณียกิจมากมายเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรมไทยทั้งในด้าน การช่างไทย นาฎศิลป์ไทย งานพิพิธภัณฑ์ ประวัติศาสตร์และโบราณสถาน ภาษาและวรรณกรรมไทย พระองค์ได้รับการทูลเกล้าฯ ถวายพระสมัญญาว่า เอกอัครราชูปถัมภกมรดกวัฒนธรรมไทย เมื่อ พ.ศ. 2531 และ วิศิษฏศิลปินเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2546 เพื่อเทิดพระเกียรติที่พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถในศิลปะหลายสาขา รวมทั้ง ทรงมีคุณูปการต่อเหล่าศิลปินและศิลปวัฒนธรรมของชาติ นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีซึ่งมีฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ดำรงตำแหน่งเป็นนายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ได้มีมติให้วันที่ 2 เมษายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันพระราชสมภพของพระองค์เป็น "วันอนุรักษ์มรดกของชาติ" เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติที่พระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในด้านการอนุรักษ์มรดกของชาติในสาขาต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก พระองค์ทรงรับเป็นประธานที่ปรึกษาการจัดงานพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพ สมเด็จพระเจ้าภคินีเธอ เจ้าฟ้าเพชรรัตนราชสุดา สิริโสภาพัณณวดีอีกด้วย ทรงเป็นประธานคณะกรรมการอำนวยการบูรณปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดารามวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และพระบรมมหาราชวัง ตั้งแต่ปลายปี พ.ศ. 2523
ด้านพระราชนิพนธ์
พระองค์โปรดการอ่านหนังสือและการเขียนมาตั้งแต่ทรงพระเยาว์ รวมกับพระปรีชาสามารถทางด้านภาษาทั้งภาษาไทยและต่างประเทศ ร้อยแก้วและร้อยกรอง ดังนั้น จึงทรงพระราชนิพนธ์หนังสือประเภทต่าง ๆ ออกมามากกว่า 100 เล่ม ซึ่งมีหลายหลากประเภททั้งสารคดีท่องเที่ยวเมื่อเสด็จพระราชดำเนินเยือนต่างประเทศ เช่น เกล็ดหิมะในสายหมอก ทัศนะจากอินเดีย มนต์รักทะเลใต้ ประเภทวิชาการและประวัติศาสตร์ เช่น บันทึกเรื่องการปกครองของไทยสมัยอยุธยาและต้นรัตนโกสินทร์ กษัตริยานุสรณ์ หนังสือสำหรับเยาวชน เช่น แก้วจอมแก่น แก้วจอมซน หนังสือที่เกี่ยวข้องกับพระบรมวงศานุวงศ์ไทย เช่น สมเด็จแม่กับการศึกษา สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีกับพระราชกรณียกิจพระราชจริยาวัตรด้านการศึกษา ประเภทพระราชนิพนธ์แปล เช่น หยกใสร่ายคำ ความคิดคำนึง เก็จแก้วประกายกวี และหนังสือทั่วไป เช่น นิทานเรื่องเกาะ (เรื่องนี้ไม่มีคติ) เรื่องของคนแขนหัก เป็นต้น และมีลักษณะการเขียนที่คล้ายคลึงกับพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กล่าวคือ ในพระราชนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ นอกจากจะแสดงพระอารมณ์ขันแล้ว ยังทรงแสดงการวิพากษ์ วิจารณ์ในแง่ต่าง ๆ เป็นการแสดงพระมติส่วนพระองค์
นอกจากพระนาม "สิรินธร" แล้ว พระองค์ยังทรงใช้นามปากกาในการพระราชนิพนธ์หนังสืออีก 4 พระนาม ได้แก่
"ก้อนหินก้อนกรวด" เป็นพระนามแฝงที่ทรงหมายถึง พระองค์และพระสหาย สามารถแยกได้เป็น ก้อนหิน หมายถึง พระองค์เอง ส่วนก้อนกรวด หมายถึง กุณฑิกา ไกรฤกษ์ พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า เราตัวโตเลยใช้ว่า ก้อนหิน หวานตัวเล็ก เลยใช้ว่า ก้อนกรวด รวมกันจึงเป็น ก้อนหิน-ก้อนกรวดนามปากกานี้ ทรงใช้ครั้งเดียวตอนประพันธ์บทความ "เรื่องจากเมืองอิสราเอล" เมื่อปี พ.ศ. 2520
"แว่นแก้ว" เป็นชื่อที่พระองค์ทรงตั้งขึ้นเอง ซึ่งพระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า "ชื่อแว่นแก้ว นี้ตั้งเอง เพราะตอนเด็ก ๆ ชื่อลูกแก้ว ตัวเองอยากชื่อแก้ว ทำไมถึงเปลี่ยนไปไม่รู้เหมือนกัน แล้วก็ชอบเพลงน้อยใจยา นางเอกชื่อ แว่นแก้ว" พระนามแฝง แว่นแก้วนี้ พระองค์เริ่มใช้เมื่อปี พ.ศ. 2521 เมื่อทรงพระราชนิพนธ์และทรงแปลเรื่องสำหรับเด็ก ได้แก่ แก้วจอมซน แก้วจอมแก่น และขบวนการนกกางเขน
"หนูน้อย" พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า "เรามีชื่อเล่นที่เรียกกันในครอบครัวว่า น้อย เลยใช้นามแฝงว่า หนูน้อย" โดยพระองค์ทรงใช้เพียงครั้งเดียวในบทความเรื่อง ป๋องที่รักตีพิมพ์ในหนังสือ 25 ปีจิตรลดา เมื่อปี พ.ศ. 2523
และ "บันดาล" พระองค์มีรับสั่งถึงพระนามแฝงนี้ว่า "ใช้ว่า บันดาลเพราะคำนี้ผุดขึ้นมาในสมอง เลยใช้เป็นนามแฝง ไม่มีเหตุผลอะไรในการใช้ชื่อนี้เลย" ซึ่งพระองค์ทรงใช้ในงานแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยที่ทรงทำให้สำนักเลขาธิการคณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยการศึกษา วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี พ.ศ. 2526
นอกจากนี้ ยังทรงพระราชนิพนธ์เพลงเป็นจำนวนมาก โดยบทเพลงที่ดังและนำมาขับร้องบ่อยครั้ง ได้แก่ เพลง ส้มตำ รวมทั้ง ยังทรงประพันธ์คำร้องในบทเพลงพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้แก่ เพลง รัก และ เพลง เมนูไข่

ด้านดนตรี

พระองค์ทรงเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านดนตรีไทยผู้หนึ่ง โดยทรงเครื่องดนตรีไทยได้ทุกชนิด แต่ที่โปรดทรงอยู่ประจำ คือ ระนาด ซอ และฆ้องวง โดยเฉพาะระนาดเอก  พระองค์ทรงเริ่มหัดดนตรีไทย ในขณะที่ทรงศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนจิตรลดา โดยทรงเลือกหัดซอด้วงเป็นเครื่องดนตรีชิ้นแรก และได้ทรงดนตรีไทยในงานปิดภาคเรียนของโรงเรียน รวมทั้ง งานวันคืนสู่เหย้าร่วมกับวงดนตรีจิตรลดาของโรงเรียนจิตรลดาด้วย หลังจากที่ทรงเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย พระองค์ทรงเข้าร่วมชมรมดนตรีไทยของสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและคณะอักษรศาสตร์ โดยทรงเล่นซอด้วงเป็นหลัก และทรงเริ่มหัดเล่นเครื่องดนตรีไทยชิ้นอื่น ๆ ด้วย
ในขณะที่ทรงพระเยาว์ เครื่องดนตรีที่ทรงสนพระราชหฤทัยนั้น ได้แก่ ระนาดเอกและซอสามสาย ซึ่งพระองค์ทรงเริ่มเรียนระนาดเอกอย่างจริงจังเมื่อปี พ.ศ. 2528 หลังจากการเสด็จทรงดนตรีไทย ณ บ้านปลายเนิน ซึ่งเป็นวังของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจิตรเจริญ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ โดยมี สิริชัยชาญ พักจำรูญ เป็นพระอาจารย์  พระองค์ทรงเริ่มเรียนตั้งแต่การจับไม้ระนาด การตีระนาดแบบต่าง ๆ และท่าที่ประทับขณะทรงระนาด และทรงเริ่มเรียนการตีระนาดตามแบบแผนโบราณ กล่าวคือ เริ่มต้นด้วยเพลงต้นเพลงฉิ่งสามชั้น แล้วจึงทรงต่อเพลงอื่น ๆ ตามมา ทรงทำการบ้านด้วยการไล่ระนาดทุกเช้า หลังจากบรรทมตื่นภายในห้องพระบรรทม จนกระทั่ง พ.ศ. 2529 พระองค์จึงทรงบรรเลงระนาดเอกร่วมกับครูอาวุโสของวงการดนตรีไทยหลายท่านต่อหน้าสาธารณชนเป็นครั้งแรก ในงานดนตรีไทยอุดมศึกษา ครั้งที่ 17  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ โดยเพลงที่ทรงบรรเลง คือ เพลงนกขมิ้น (เถา)
นอกจากดนตรีไทยแล้ว พระองค์ยังทรงดนตรีสากลด้วย โดยทรงเริ่มเรียนเปียโนตั้งแต่พระชนมายุ 10 พรรษา แต่ได้ทรงเลิกเรียนหลังจากนั้น 2 ปี และทรงฝึกเครื่องดนตรีสากล ประเภทเครื่องเป่า จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จนสามารถทรงทรัมเป็ตนำวงดุริยางค์ในงานคอนเสิร์ตสายใจไทย และทรงระนาดฝรั่งนำวงดุริยางค์ในงานกาชาดคอนเสิร์ต

ด้านภาษา

พระองค์ทรงมีความรู้ทางด้านภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร ทรงสามารถรับสั่งเป็นภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาจีน และทรงกำลังศึกษา ภาษาเยอรมัน และภาษาลาตินอีกด้วย ขณะที่ทรงพระเยาว์นั้น สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงสอนภาษาไทยแก่พระราชโอรสและพระราชธิดา โดยทรงอ่านวรรณคดีเรื่องต่าง ๆ พระราชทาน และทรงให้พระองค์ทรงคัดบทกลอนต่าง ๆ หลายตอน ทำให้พระองค์โปรดวิชาภาษาไทยตั้งแต่นั้นมา นอกจากนี้ ยังทรงสนพระราชหฤทัยในภาษาอังกฤษและภาษาบาลีด้วย
เมื่อพระองค์ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนจิตรลดานั้น ทรงได้รับการถ่ายทอดความรู้ทางด้านภาษาทั้งภาษาไทย ภาษาบาลี ภาษาเขมร ภาษาอังกฤษ และภาษาฝรั่งเศส โดยภาษาไทยนั้น พระองค์ทรงเชี่ยวชาญทั้งด้านหลักภาษา วรรณคดี และศิลปะไทย เมื่อทรงจบชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น พระองค์พอรู้แน่ว่าอย่างไรก็คงไม่ได้เรียนแผนกวิทยาศาสตร์ จึงพยายามหัดเรียนภาษาบาลี อ่านเขียนอักษรขอม เนื่องจากในสมัยนั้น ผู้ที่จะเรียนภาษาไทยให้กว้างขวาง ลึกซึ้ง จะต้องเรียนทั้งภาษาบาลี สันสกฤต และเขมร ซึ่งภาษาบาลีนั้น เป็นภาษาที่พระองค์สนพระราชหฤทัยตั้งแต่ทรงพระเยาว์ แต่ได้เริ่มเรียนอย่างจริงจังในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จนสามารถจำการแจกวิภัตติเบื้องต้นที่สำคัญได้ และเข้าพระราชหฤทัยโครงสร้างและลักษณะทั่วไปของภาษาบาลีได้ นอกจากนี้ ยังทรงเลือกเรียนภาษาฝรั่งเศสแทนการเรียนเปียโน เนื่องจากมีพระราชประสงค์ที่จะอ่านหนังสือภาษาฝรั่งเศสที่มีอยู่ในตู้หนังสือมากกว่าการซ้อมเปียโน
เมื่อทรงเข้าศึกษา ณ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยนั้น พระองค์ทรงเลือกเรียนสาขาประวัติศาสตร์เป็นวิชาเอก และวิชาภาษาไทย ภาษาบาลี และภาษาสันสกฤตเป็นวิชาโท ทำให้ทรงศึกษาวิชาภาษาไทยในระดับชั้นสูงและละเอียดลึกซึ้งยิ่งขึ้นทั้งด้านภาษาและวรรณคดี ส่วนภาษาบาลีและสันสกฤตนั้น ทรงศึกษาทั้งวิธีการแบบดั้งเดิมของไทย คือ แบบที่เรียนกันในพระอารามต่าง ๆ และแบบภาษาศาสตร์ซึ่งเป็นวิธีการตะวันตก ตั้งแต่ไวยากรณ์ขั้นพื้นฐานไปจนถึงขั้นสูง และเรียนตามวิธีการอินเดียโบราณเป็นพิเศษในระดับปริญญาโท ซึ่งรัฐบาลอินเดียได้ส่งศาสตราจารย์ ดร. สัตยพรต ศาสตรี มาถวายพระอักษรภาษาสันสกฤต โดยวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทของพระองค์ เรื่อง ทศบารมีในพุทธศาสนาเถรวาท นั้น ยังได้รับการยกย่องจากมหามงกุฎราชวิทยาลัยว่า เป็นวิทยานิพนธ์ที่แสดงถึงพระปรีชาสามารถ ในภาษาบาลีพุทธวจนะเป็นพิเศษ
พระปรีชาสามารถทางด้านภาษาของพระองค์นั้นเป็นที่ประจักษ์ จึงได้รับการทูลเกล้าถวายปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ทางด้านภาษาจากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ เช่น มหาวิทยาลัยรามคำแหงมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยมาลายา ประเทศมาเลเซีย มหาวิทยาลัยบักกิงแฮม สหราชอาณาจักร เป็นต้น

การจัดการ ความรู้ รู้ยิ่งมาก
ไม่ได้ยาก หากทำ นำความรู้
จัดการดี มีเติม เพิ่มให้รู้
เพื่อเป็นครู รู้ดี มีจัดการ

การจัดการ ความรู้ ดูให้ดี
ใช้ไอที ที่ดี มีประสาน
เรื่องข้อมูล วิจัย ให้เชี่ยวชาญ
เพื่อจัดการ ความรู้ ดูดีเอย